บทความนี้จะเป็นบทความที่ แนะนำให้ทุกท่านที่ เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ คนที่ทำงานด้าน E-Commerce หรือรวมถึงคนที่อยู่สายการตลาด ได้รู้จักระบบการชำระเงินที่เรียกว่านิยมที่สุดในโลก คือ Stripe (สไตรพ์)
ถ้าให้ย้อนกลับไปเปิดปี 2009 Stripe ก็ถือกำเนิดโดย Patrick และ John Collison โดยได้รับการลงทุน 2 ล้านเหรียญ จาก Paypal ซึ่งผู้ร่วมก่อตั้งคือ Elon Musk และ Peter Thiel ซึ่งเมื่อผลประกอบการของปี 2021 (ปีที่ผ่านมา) นั้นมีผลประกอบการ ถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และมีพนักงานถึง 7,000 อัตรา ในปี 2022
ทำไมต้อง Stripe
ถ้าให้พูดถึงว่าผู้ให้บริการด้านการ Payment Gateway ที่มีความนิยมใน สหรัฐอเมริกา หรือทั่วโลกนั้นก็ต้อง Stripe นั้นเอง ซึ่งไม่แค่เราสามารถชำระงินด้วยบัตรเครดิตได้ แต่เรายังสามารถจ่ายเงินด้วยผู้ให้บริการหลักๆ ระดับโลกได้ ยกตัวอย่างเช่น
- GPay (Google Pay) หรือ คิดง่ายๆว่าเรา จ่ายเงินซื้อ Application บน Playstore นั้นเอง โดยจ่ายผ่าน Google ID นั้นเอง
- Apple Pay ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับการจ่ายเงินซื้อ Application หรือ ซื้อบริการอื่นๆ แล้วจ่ายผ่าน Apple ID
- Ali Pay (Alibaba Pay) การชำระเงินที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆของจีน ซึ่งก็มีคนใช้งานมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
- จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ที่รองรับทุกบัตรของธนาคาร
- ซึ่งถ้าใน Thai ตอนนี้มี ระบบ QR Code แบบ Promptpay แล้ว
ไม่เพียงแค่ จ่ายเงินได้สะดวกแต่ มีความ User Friendly หรือเรียกว่าใช้งานง่าย และสะดวกทั้งผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน ซึ่งสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสมัครได้ทั้งในนามบริษัท หรือสมัครในนามบุคคลที่สะดวกมาก หากนำมาใช้งานบนเว็บไซต์
Stripe ใช้งานได้ที่ไทยแล้ว
หากมาพูดถึงถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ ซึ่งโดยปกติ nConnect จะให้บริการ Payment ที่อยู่ในประเทศเช่น Omise , 2c2p , KBank Payment Gateway เป็นต้น เป็นหลักในการทำเรื่องของระบบชำระเงิน ซึ่งในแต่ละผู้ให้บริการ ก็จะมีเรื่องการจัดการที่แตกต่างกัน และค่อนข้างมีเงื่อนไข ในแต่ละผู้ให้บริการนั้นต้องการ ซึ่งแตกต่างจาก Stripe ที่เป็นง่ายต่อการสมัคร ที่สามารถดำเนินการทุกอย่างเว็บไซต์ ได้เลยโดยไม่ต้องมีเอกสาร ที่ต้องส่ง หรือต้องจัดเตรียมเอกสาร อื่นๆ ที่นอกเหนือจากการส่งหนังสือรับรองบริษัท หรือ ส่งเพียงบัตรประชาชนสำหรับการสมัครของบุคคล โดย nConnect ได้ทำการสมัครเมื่อตรวจสอบประเภทที่สามารถใช้งาน Stripe ได้แล้ว นั่นคือประเทศไทยไปอยู่ในประเทศที่ยืนยันการใช้งาน Stripe Payment Gateway ได้แล้ว ซึ่งสะดวกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
โดยปัจจุบัน Stripe สามารถสมัครทั้งในนามบุคคล ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท ได้ด้วย ซึ่งสะดวกในการยืนยันตัวตนด้วยระบบที่ Stripe มีการยืนยันผ่าน Webcam หรือ กล้องมือถือ รวมถึง เราสามารถอัพโหลดรูปภาพ บัตรประชาชน หรือ หนังสือรับรอง เพื่อยืนยันได้เลยที่เว็บไซต์ โดยไม่ต้องรอการตอบกลับ Email ซึ่ง หลังจากที่มีการสมัครเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถดำเนินการ ใช้งานได้เลยทันที
Stripe รองรับการจ่ายเงินในไทยมีอะไรบ้าง ณ ตอนนี้
ณ วันที่เขียนบทความนี้คือวันที่ 30 สิงหาคม 2022 ซึ่งไม่กี่วัน หลังจากที่ Stripe ยืนยันการให้บริการที่ประเทศไทย ซึ่งทาง nConnect ได้ลองเข้าไปใช้งานและเชื่อมต่อระบบต่างๆ จากเว็บไซต์
ซึ่ง ณ ปัจจุบัน หากเป็นการจ่ายเงินโดยตรง ที่ลิงค์เช้ามาเว็บไซต์ จะสามารถจ่ายเงินได้ทั้ง บัตรเครดิต, Google Pay, Apple Pay* , Promptpay
ซึ่ง Apple Pay จะต้องการ Verification บนเว็บไซต์ โดยจะเป็นการอัพโหลดเพื่อยืนยันส่วนนี้ ซึ่งหากสามารถอัพโหลดไฟล์เพื่อยืนยัน ก็ใช้งานได้เลย
ส่วน PromptPay ส่วนนี้จะสามารถใช้ได้กับ Link Payment หรือ Invoice Payment ซึ่งได้ลองเชื่อมโดยตรงกับ ระบบการชำระเงินของเว็บไซต์ ยังไม่สามารถใช้ได้ ซึ่งพอตรวจสอบจากผู้ให้บริการอย่าง WooCommerce Stripe ยังไม่มีบริการในประเทศสำหรับ WooCommerce ซึ่งต้องรออีกไม่นาน ก็คงมีให้สามารถกดชำระเงินได้แล้ว
รายละเอียดสำหรับการรองรับการชำระเงิน
สำหรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต
การรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตนั้น ถือว่าเป็นการบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เพราะมีการใช้งานบัตรเครดิตทั้งการซื้อสินค้าหรือบริการด้วยบัตรเครดิต และเครดิตทั้งออนไลน์และออฟไลน์เป็นหลักแล้วในปัจจุบัน ทั่วโลก และซึ่งเราก็ยังสามารถใช้บัตรเครดิต ชำระเงินได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องไปแลกเงินในแต่ละประเทศอีกต่อไปซึ่ง จะสะดวกมากๆ กว่าการถือเงินสด
การรองรับต่างๆ
รองรับ Recurring Payment หรือ เรียกว่า การรับชำระเงินซ้ำประจำเดือน หรือประจำรอบที่ระบบกำหนด
รองรับ Refund Support หรือการบริการ คืนเงินได้ทันที ตามที่ระบบกำหนด
รองรับ Dispute Support หรือการโต้แย้งเรื่องการชำระเงิน ในกรณีการชำระเงินมีปัญหา
โดยระบบ จะถือว่าเป็น ประเภท Card
โดยรองรับบัตรเครดิต ของผู้ให้บริการดังนี้
- American Express
- China UnionPay (CUP)
- Discover & Diners
- Japan Credit Bureau (JCB)
- Mastercard
- Visa
ลักษณะการรองรับต่างๆ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ ›› https://stripe.com/docs/payments/cards/supported-card-brands
สำหรับการชำระเงินด้วย Apple Pay
การบริการชำระเงินด้วย Apple ซึ่งสามารถ จะเรียกว่า Apple Pay ซึ่งการบริการชำระเงิน ด้วย Apple Pay นั้นสามารถใช้ Mac , iPhone , iPad และ Apple Watch ชำระได้เลยผ่าน Apple ID ของเรานั้นเอง
ลักษณะการรองรับต่างๆ
รองรับ Recurring Payment หรือ เรียกว่า การรับชำระเงินซ้ำประจำเดือน หรือประจำรอบที่ระบบกำหนด
รองรับ Refund Support หรือการบริการ คืนเงินได้ทันที ตามที่ระบบกำหนด
รองรับ Dispute Support หรือการโต้แย้งเรื่องการชำระเงิน ในกรณีการชำระเงินมีปัญหา
โดยระบบการชำระเงินนี้จะถือว่าเป็นประเภท Digial Wallet
อ่านข้อมูลที่นี่ https://stripe.com/docs/apple-pay
สำหรับการชำระเงินด้วย Google Pay
หากเราเคยซื้อ Application หรือ ซื้อบริการออนไลน์ หรือเกมส์ต่างๆ เรามักจะต้องจ่ายผ่าน Google Pay หรือ Play Store นั่นแปลว่า เราก็จ่ายเงินโดย Google ID ซึ่งสามารถเอาบัตรเครดิตของเราไปผูกใน Google Account ของเราได้เลย แล้วจะเชื่อมต่อทั้ง Google Play, Youtube, Google Chrome, และโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android
ลักษณะการรองรับต่างๆ
รองรับ Recurring Payment หรือ เรียกว่า การรับชำระเงินซ้ำประจำเดือน หรือประจำรอบที่ระบบกำหนด
รองรับ Refund Support หรือการบริการ คืนเงินได้ทันที ตามที่ระบบกำหนด
รองรับ Dispute Support หรือการโต้แย้งเรื่องการชำระเงิน ในกรณีการชำระเงินมีปัญหา
โดยระบบการชำระเงินนี้จะถือว่าเป็นประเภท Digial Wallet
https://stripe.com/docs/google-pay
สำหรับการชำระเงินด้วย PromptPay
PromptPay คือ การชำระเงินที่ได้รับความนิยมที่สุดในไทยก็ว่าได้ เพราะไปที่ไหน เราก็มักจะเจอ QR Code แปะอยู่หน้าร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าขนาดเล็ก หรือ การชำระเงินในห้างสรรพสินค้าก็เราแจ้งได้เลยว่าจะชำระเงินผ่าน QR CODE ก็จะมีพนักงาน นำเครื่องรูดบัตรเครดิต (EDC) ที่มีหน้าจอแสดง QR CODE มาให้เราสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อชำระเงิน นั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่า การบริการนี้จะมีเฉพาะในประเทศไทยแต่ซึ่งสะดวกมากๆ หากธุรกิจนั้น มีระบบ Promptpay ในเว็บไซต์ ธุรกิจ หรือเว็บไซต์ E-Commerce สำหรับการรับชำระเงิน
การรองรับการชำระเงิน
สกุลเงิน : ไทยบาท
วิธีการยืนยันชำระเงิน : ลูกค้ากดดำเนินการแจ้งเพื่อชำระเงิน
การรับชำระเงิน : เป็นการชำระเงินทันที ผ่าน QRCODE โดยไม่ต้องมีการยืนยัน เหมือนบัตรเครดิต
ระบบออกบิล : รองรับ
ระบบเชื่อมต่อ : รองรับ
การโต้แย้งการชำระเงิน : ไม่สามารถทำได้
การคืนเงิน เต็มจำนวน : บางส่วน : สามารถทำได้
โดยรองรับสำหรับ การชำระเงิน 3 แบบ บน Stripe ดังนี้
ประเภท Invoice
ประเภท Link Payment
ประเภท Subscription
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม › https://stripe.com/docs/payments/promptpay
ค่าธรรมเนียมของ Stripe
สำหรับบัตรเครดิต ประเภท VISA และ Master Card
รับชำระเงินจากในประเทศ 3.65% + 10 บาท
คิดง่ายๆคือ สินค้าราคา 100 บาท Stripe จะคิดค่าธรรมต่อครั้ง คือ 3.65 บาท แล้ว + 10 นั้นคือ 13.65 บาท
หรือ หากคำนวนจาก สินค้าราคา 999 บาท ค่าธรรมเนียมคือ 36.4 บาท + ค่าธรรมเนียมอีก 10 บาท คือ 46.4 บาท นั้นเอง
รับชำระเงินจาก ต่างประเทศ 4.75% + 10 บาท
คิดจากด้านบนคือ ถ้าสมมติว่า ราคาสินค้า 1,000 บาท คือ เราจะเสียค่าธรรมเนียม 57.5 บาทนั้นเอง
สำหรับการชำระเงินด้วย Promptpay
ค่าธรรมเนียม 1.65% หรือ สินค้าราคา 100 บาท จะมีค่าธรรมเนียม 1.65 บาท
โดยหากมีการคืนเงิน จะมีค่าธรรม ครั้งละ 10 บาท
การชำระเงินในประเภทอื่นๆ
การชำระเงินด้วย Checkout
ค่าบริการ ชำระเงิน เดือนละ $10
การชำระเงินด้วยระบบ Billing
ค่าธรรมเนียม 0.5%
การชำระเงินด้วย Invoicing
ค่าธรรมเนียม 0.4%
หรือหากต้องการดูการชำระเงินทั้งหมด และรายละเอียดทั้งหมด สามารถคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่
› https://stripe.com/en-gb-th/pricing
สำหรับบทความนี้
ก็อาจจะช่วยเพิ่มความสนใจในการสมัคร Stripe สำหรับการรับชำระเงิน ไม่มากก็น้อย สำหรับคนที่สนใจสมัคร Stripe สามารถคลิก ที่นี่เพื่อสมัครได้ stripe ได้เลย www.stripe.com
หากอยากให้ nConnect ช่วยตวจสอบเว็บไซต์ หรือ ออกแบบเว็บไซต์ คลิกที่นี่ › สร้างเว็บไซต์กับ nConnect