เลือกหัวข้อ

เว็บไซต์หรือแอพลิเคชั่นเกือบทั้งหมดที่ออกแบบในปัจจุบัน ระบบการแจ้งเตือนนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก การแจ้งเตือนจะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน ซึ่งจะแสดงในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้หรือแจ้งเตือนอัพเดทสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้น

วันนี้เราได้รวบรวมการแจ้งเตือนยอดนิยมพร้อมกับการใช้งานมาให้ได้ศึกษากัน มาเริ่มที่แบบแรกกันเลย

  • ป้ายไอคอนการแจ้งเตือน

ป้ายในที่นี้คือ สัญลักษณ์ขนาดเล็กที่จะปรากฏอยู่บนแอพลิเคชัน จะมีหมายเลขกำกับให้ผู้ใช้เห็นจำนวนการแจ้งเตือนที่ยังไม่ได้อ่าน หลังจากผู้ใช้ได้อัพเดตหรือเปิดอ่านแล้ว การแจ้งเตือนนี้จะหายไปจากไอคอนแอพลิเคชันและจะปรากฏขึ้นใหม่หลังจากมีการแจ้งเตือนอีกครั้ง

ข้อดี

สามารถสร้างความรู้สึกเชิงบวกให้กับผู้ใช้งานได้ เช่น แจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงจำนวนการถูกใจใหม่ หรือการโต้ตอบบน Social หรือมีการอัพเดทสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้น

ข้อเสีย

เป็นเพียงแค่ระบุจำนวนการแจ้งเตือนใหม่ๆหรือแจ้งว่ามีการอัพเดทสิ่งใหม่ๆ ผู้ใช้ต้องทำการคลิกหรือแตะที่ไอคอนเพื่อดูข้อความจริง

เคล็ดลับเล็กๆ สำหรับการใช้งานฟังก์ชันนี้

การใช้เสียงประกอบกับการแจ้งเตือน เพราะเสียงจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ได้ และเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ จะสามารถแยกแยะการแจ้งเตือนของแอพลิเคชันได้อีกด้วย

  • การแจ้งเตือนแบบพุช หรือแถบการแจ้งเตือน

เป็นการแจ้งเตือนที่ปรากฎบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือทั้งขณะใช้งานและล็อคหน้าจอ ที่เรามักเห็นกันบ่อยๆ

ข้อดี

ผู้ใช้งานจะมีโอกาสสูงที่จะเห็นการแจ้งเตือนสำหรับระบบพุช และ ดึงดูดใจเป็นอย่างมาก

ข้อเสีย

การแจ้งเตือนแบบพุชบ่อยครั้งถึงแม้จะมีประโยชน์และมีคุณค่า แต่อีกมุมนึงก็จะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานได้

เคล็ดลับเล็กๆ สำหรับการใช้งานฟังก์ชันนี้

    1. อย่าใช้การแจ้งเตือนสำหรับการให้คะแนนแอพลิเคชัน
    2. อย่าใช้ข้อความเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้กลับมาใช้แอพลิเคชัน เช่น การแจ้งเตือนที่มีข้อความว่า “เราไม่ได้พบคุณมาสักพัก” แต่ต้องใช้ข้อความที่มีเหตุผลชัดเจนสื่อว่าทำไมจึงควรกลับมาใช้แอพลิเคชันนั้นๆ
    3. สร้างฟังก์ชันให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งการตั้งค่าการแจ้งเตือนได้
  • การแจ้งเตือนแบบอีเมล

ผู้ใช้ได้รับการแจ้งเตือนอีเมลพร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับการอัพเดท

ข้อดี

ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้ว่าจะอ่านอีเมลหรือไม่ หากชื่ออีเมลชัดเจน ผู้ใช้อาจเข้าใจบริบทที่ต้องการสื่อโดยไม่ต้องอ่านอีเมล

ข้อเสีย

    1. เวลาตอบสนองต่ออีเมลจะมีระยะเวลานาน อาจใช้เวลานานมากขึ้นกว่าที่ผู้ใช้จะเห็นการแจ้งเตือน นอกจากนี้อีเมลอาจจะสูญหายในกล่องข้อความ และถูกย้ายไปที่ โฟลเดอร์สแปม (อีเมลขยะ) ได้
    2. การใช้งานยุ่งยากขึ้น หากแอพลิเคชันมีการแจ้งเตือนการอัพเดททางอีเมลผู้ใช้ต้องเปลี่ยนแอพลิเคชันไปที่อีเมล เพื่อดำเนินการให้เสร็จสิ้น อาจไม่สร้างความสะดวกมากนักให้กับผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ
  • การแจ้งเตือนแบบเต็มหน้าจอ 

เป็นการแจ้งเตือนบนหน้าต่างแอพลิเคชัน เพื่อให้ผู้ใช้ทำการตัดสินใจ การแจ้งนี้จะทำการปิดการทำงานของแอพลิเคชันทั้งหมด และจะแสดงหน้าจอการแจ้งเตือนจนกว่าผู้ใช้งานจะดำเนินการจนเสร็จสิ้น

ข้อดี

ผู้ใช้งานจะเห็นการแจ้งเตือนแบบ 100% และจะหลีกเลี่ยงการแจ้งเตือนนี้ไม่ได้

ข้อเสีย

    1. ขัดจังหวะการใช้งานแอพลิเคชันนั้นๆ
    2. ในบางครั้งการใช้งานผู้ใช้ต้องเข้าถึงการแจ้งเตือนนั้น ถึงจะเห็นการอัพเดทต่าง ๆ

ที่มา : https://uxplanet.org/5-types-of-ui-notifications-dbfbda284456

บทความนี้เกี่ยวกับ

แชร์บทความนี้