ทำไม ลิงค์มาเว็บไซต์ หรือภายในเว็บไซต์ ต้องติด UTM ?
ในบทความนี้ ผมจะพามาทำความรู้จัก UTM และความสามารถจริงๆ และทำอะไรได้บ้าง ส่งผลต่อเว็บไซต์อะไรเราไหม
ในหลายๆครั้งที่เป็นที่ปรึกษา กับลูกค้าหรือบอกกับทีมตัวเองว่า แล้วทำไมต้องติดล่ะ แค่ลิงค์ก็ได้นิ
ขอยกตัวอย่าง
: ทำไมเวลา โพสต์อะไรสักอย่างแล้วลิงค์เข้าเว็บไซต์ทำไมต้องมี กำกับสำหรับลิงค์ที่เข้าเว็บไซต์ มาดูการทำงาน กัน
UTM เป็น พารามิเตอร์นึงของ Google Analytics ที่จะทำให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพแคมเปญได้อย่างดี ไม่ว่าจะผ่านช่องทางไหน หรือส่วนไหนที่ ทำให้ มีคนสนใจเข้าเว็บไซต์ของเรา หรือหน้า Landing Page ระบบก็จะนับแล้ว
ซึ่งหากต้องการดูแคมเปญของเรา จะไปแสดงที่ไหน สามารถไปที่ เมนูการกระทำ จากนั้นไปไปที่ เมนูแคมเปญ เราก็จะสามารถดู UTM ของเราได้แล้วว่ามาจากไหนอะไรยังไง
แล้ว UTM เก็บได้อะไรได้บ้าง
Source : แหล่งที่มา ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนแรกที่เราควรกำหนดช่องทาง
เช่น Facebook , Line , Email , Website , Instagram (ใช้ได้กับ Instagram Stories หรือ Instagram Ads) เป็นต้น เพื่อให้ระบบแยกให้ชัดซึ่ง หากมี 1 แคมเปญแต่ยิงหลายช่องทาง
ตรงนี้ก็ควรต้องเปลี่ยนเช่น
Source=Facebook
Source=Line
Source=Website (สำหรับ ภายในเช่นพวกแบรนเนอร์ หรือส่วนไหนที่ต้องการจะ ติดตามแคมเปญนั้นๆ)
Medium : เป็นส่วนที่สองที่ต้องกรอก ซึ่งส่วนนี้ส่วนใหญ่เราจะใส่เป็นประเภทสื่อว่ามีประเภทสื่ออะไรบ้าง ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่เราจะระบุได้เลย โดยเป็นการระบุที่เราสามรถเข้าใจได้ว่า คืออะไร นั่นเอง
ยกตัวอย่าง
CPC : แคมเปญนี้ประเภท Cost Per Click
Banner : แคมเปญนี้ใช้ประเภทสื่อ Banner
Hero : แคมเปญนี้ใช้ประเภทสื่อบริเวณ Hero ของ Page
BoardCast : แคมเปญนี้ใช้ใช้ประเภท BoardCast จาก LINE
หรือ อื่นๆ ซึ่งเราสามารถระบุได้เอง เพื่อเก็บข้อมูลว่าประเภทสื่อจะเป็นประเภทสื่อแบบไหน ซึ่งหากช่องทางเดียวกัน แต่มีประเภทสื่อหลากหลาย อันก็สามารถแก้ไขส่วนไหนนี้ได้เลยส่วนเดียวเท่านั้นเอง วิธีการ
UTM_Source=facebook&UTM_Medium=Banner แคมเปญนี้ได้รับการคลิกมาจากแบนเนอร์
UTM_Source=facebook&UTM_Medium=Button แคมเปญนี้ได้รับการคลิกจากปุ่ม
Name : อันนี้ก็คือตรงตัวเลยคือ แล้วแคมเปญนี้ชื่ออะไร
ส่วนนี้จะเป็นส่วนแรกที่เราพบเห็นเมื่อเข้ามาที่ เมนูแคมเปญ ที่อยู่ภายใต้เมนูการกระทำนั่นเอง ซึ่งส่วนนี้หากเป็น แคมเปญเดียวกัน ก็เปลี่ยนเฉพาะ Source (แหล่งที่มา) และ Medium (ประเภทสื่อ) ก็เพียงพอ เพราะชื่อแคมเปญจะส่งผลทำให้เรารู้
ยกตัวอย่างเช่น เราจะเล่นแคมเปญ ตรุษจีนที่จะถึงนี้ UTM_Source=facebook&UTM_Medium=Organic&UTM_Name=ChineseDay UTM_Source=facebook&UTM_Medium=CPC&UTM_Name=ChineseDay UTM_Source=line&UTM_Medium=boardcast&UTM_Name=ChineseDay UTM_Source=line&UTM_Medium=Menu&UTM_Name=ChineseDay
สังเกตข้างบนจะเป็นแคมเปญเดียวกันคือ ChineseDay นั่นคือชื่อแคมเปญที่เราควรต้องยืดถือแต่ จะเน้นการเปลี่ยน เพียง Source และ Medium เท่านั้น
โดยหากมีการซื้อโฆษณาของ Google AdWords ในส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องติด เพราะ Google ทำมาให้เราแล้ว นอกซะจากเราจะมี พารามิเตอร์อื่นๆ ในการเก็บค่าซึ่งสามารถตั้งค่าหน้าปลายทาง ซึ่ง Google จะมีให้กรอกในส่วนนั้นเพิ่มเติม
›› เริ่มทำUTM
ยกตัวอย่างแบบนี้ สมมติว่า ต้องการให้เข้าหน้าเว็บไซต์ nconnect.asia/chineseday
ลิงค์ยาวๆ ที่ได้คือ nconnect.asia/chineseday?utm_source=facebook&utm_medium=post&utm_campaign=chineseday
นั้นเอง
โดยในเบื้องต้น UTM จะทำให้ลิงค์ของเรานั้นยาวมากๆ วิธีการแก้ไขให้สั้นง่ายๆ คือ ทำ Bitly ให้เข้าไปที่ https://bit.ly/ เพื่อดำเนินการลิงค์สั้น แนะนำให้ Login เข้าสู่ระบบ เพื่อ Tracking การคลิกได้อีกด้วย และพร้อมทั้งเรายังสามารถทำลิงค์สั้นขึ้นอีกด้วย วิธีการง่ายๆ เมื่อได้ tapanpon.com/chineseday?utm_source=facebook&utm_medium=post&utm_campaign=chineseday
และจะทำให้ลิงค์สั้นขึ้นดังนี้
ไปที่ https://bit.ly/ และกด Create และวางลิงค์ได้เลย
และเมื่อต้องการ ปรับเปลี่ยนชื่อ URL ให้ดูคล้องจองมากยิ่งขึ้นไปให้ที่ Customize